ผู้รับผลประโยชน์ คือใคร ไม่ใช่ญาติได้ไหม เปลี่ยนชื่อในภายหลังได้หรือไม่ ?

ผู้รับผลประโยชน์ คือใคร ไม่ใช่ญาติได้ไหม

ผู้รับผลประโยชน์

ในการทำประกันชีวิตส่วนบุคคลทุกรูปแบบ เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันควบการลงทุน ฯลฯ การระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเสมอ เพราะการใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ประกันเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ ในบทความนี้ Meprakan จะสรุปข้อมูลเกี่ยวกับการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตให้ได้อ่านกัน ว่าผู้รับผลประโยชน์คืออะไร ใส่ชื่อได้กี่คน เปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้หรือไม่ แตกต่างกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร

Contents hide

ผู้รับผลประโยชน์ คือใคร 

ผู้รับผลประโยชน์ คือ บุคคลที่ถูกระบุชื่อเอาในกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยจะได้รับผลประโยชน์ตามที่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์เมื่อครบกำหนดสัญญากรมธรรม์ หรือในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 

ผู้รับผลประโยชน์กรมธรรม์ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่บุคคลในครอบครัวเท่านั้น แต่สามารถเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันได้ ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุเอาไว้เมื่อครบกำหนดสัญญา

ผู้รับผลประโยชน์กรมธรรม์ เป็นใครได้บ้าง

ผู้รับผลประโยชน์กรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัยได้ นอกจากนี้บุคคลในครอบครัวยังสามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตส่วนบุคคลได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น พ่อ แม่ คู่สมรส บุตร ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ

ผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ไม่ใช่ญาติได้หรือไม่

ผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ไม่ใช่ญาติได้หรือไม่

ในการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ทางบริษัทประกันภัยจะแนะนำให้ใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นบุคคลในครอบครัวหรือญาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องจากครอบครัวของผู้เอาประกันภัย

สำหรับใครที่ต้องการใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ จริง ๆ แล้วสามารถทำได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการยืนยันความสัมพันธ์กับทางบริษัทประกันภัยด้วย

เช่น คุณทำประกันชีวิตตลอดชีพเอาไว้ และใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นแฟน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน 

ในกรณีนี้จะต้องมีส่งเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ เช่น ทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงหลักฐานว่าคุณได้อาศัยอยู่ด้วยกัน มีความสัมพันธ์กันจริง ๆ และจะต้องรอทางบริษัทประกันภัยยินยอมเสียก่อน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตไม่ใช่ญาติ สามารถทำได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ต้องแจ้งบริษัทประกันภัยภายในกี่วัน

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จะต้องรีบแจ้งบริษัทประกันภัยให้ทราบโดยเร็วที่สุด หรือแจ้งภายใน 14 วันเท่านั้น

หากผู้รับผลประโยชน์แจ้งการเสียชีวิตล่าช้ากว่านี้ ทางบริษัทประกันภัยจะมีการขอข้อมูลหรือขอข้อพิสูจน์ถึงเหตุผลที่แจ้งการเสียชีวิตล่าช้า 

เอกสารผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต

เอกสารผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง

โดยผู้รับผลประโยชน์จะต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ดังนี้ 

  • เล่มกรมธรรม์ประกันชีวิต
  • สำเนาใบมรณะบัตรผู้เอาประกัน 
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้เอาประกัน
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้เอาประกันที่มีการระบุว่าตายหรือเสียชีวิตแล้ว
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้รับผลประโยชน์
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้รับผลประโยชน์
  • สำเนาบันทึกประจำวัน, สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ
  • แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหม

ถ้าหากไม่แน่ใจว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการขอรับผลประโยชน์ ผู้รับผลประโยชน์สามารถโทรติดต่อสอบถามบริษัทประกันภัยที่ผู้เอาประกันทำประกันชีวิตด้วยได้ 

หากผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิต ใครจะได้รับผลประโยชน์แทน

ในกรณีที่ผู้รับผลประโยชน์เสียชีวิต ผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์กับบริษัทประกันภัยได้ แต่หากผู้เอาประกันเสียชีวิตและผู้รับผลประโยชน์ก็เสียชีวิตด้วย ในกรณีนี้ผลประโยชน์จะตกสู่กองมรดกหรือทายาทของผู้เอาประกัน

เปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ได้หรือไม่

สามารถเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ได้หรือไม่

การเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันสามารถทำได้ ซึ่งชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถระบุชื่อได้มากกว่าหนึ่งคน โดยสามารถระบุสัดส่วนการรับผลประโยชน์ของแต่ละคนได้ 

สำหรับผู้เอาประกันคนไหนที่ต้องการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิต ก็สามารถติดต่อตัวแทนประกันชีวิตที่คุณทำประกันด้วย หรือจะติดต่อบริษัทประกันชีวิตโดยตรงก็ได้เช่นกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ มีอะไรบ้าง

กรณีผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์ ต้องดำเนินการอย่างไร

หากผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม์ ซึ่งก็คือพ่อหรือแม่ตามกฎหมายเสียก่อน เพราะผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นผู้รับผลประโยชน์จะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้เยาว์ หากไม่มีให้ใช้สำเนาสูติบัตรแทน
  • สำเนาบัตรประชาชนพ่อ แม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์
  • สำเนาทะเบียนบ้านพ่อ แม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย

สำหรับการกรอกแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมจะมีดังนี้

  • ผู้เยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี : พ่อ แม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ลงนามแทน พร้อมระบุความสัมพันธ์
  • ผู้เยาว์อายุเกิน 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ : พ่อ แม่ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ลงนามร่วมกับผู้เยาว์ พร้อมระบุความสัมพันธ์

*เอกสารรับผลประโยชน์สำหรับผู้เยาว์ อาจจะมีการขอเพิ่มเติมได้ ฉะนั้นแล้วแนะนำให้โทรสอบถามจากบริษัทประกันภัยเสียก่อน

ผู้รับผลประโยชน์เป็นลูก ได้หรือไม่

ผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นบุตรของผู้เอาประกัน สามารถระบุชื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ประกันชีวิตได้ เพราะมีความเกี่ยวข้องกันในทางกฎหมาย

ผู้รับผลประโยชน์เป็นหลาน ได้หรือไม่

ผู้รับผลประโยชน์เป็นหลาน ได้หรือไม่

ผู้เอาประกันสามารถระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นหลานได้ โดยจะต้องมีการส่งเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ให้กับบริษัทประกันชีวิตเพื่อใช้ในการพิจารณา

การทำประกันชีวิตไม่ระบุผู้รับผลประโยชน์ ได้หรือไม่

การทำประกันชีวิตจำเป็นจะต้องระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เสมอ เพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนด ไม่ระบุไม่ได้

ผู้เอาประกัน กับ ผู้รับผลประโยชน์ แตกต่างกันอย่างไร

ผู้เอาประกัน : เป็นผู้สมัครทำประกันภัย มีข้อตกลงกับบริษัทประกันชีวิต

ผู้รับผลประโยชน์ : บุคคลที่จะรับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถเป็นคนคนเดียวกับผู้เอาประกันภัยได้

ในการทำประกันชีวิตทุกรูปแบบ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เสมอ ซึ่งการระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ ทางบริษัทประกันภัยจะแนะนำให้ใส่ชื่อเป็นบุคคลภายในครอบครัว แต่สำหรับผู้เอาประกันคนไหนที่ต้องการใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์ให้กับบุคคลที่ไม่ญาติก็สามารถทำได้ เพียงแต่จะต้องมีการยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเป็นการยืนยันความสัมพันธ์ และจำเป็นต้องรอให้ทางบริษัทประกันภัยยินยอมก่อนเสมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *