อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง
มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมากมาย ไม่ว่าจะช่วยความลดเสี่ยงในด้านการเงิน การออม หรือการลงทุน ประกันชีวิตนั้นตอบโจทย์เป็นอย่างมาก อีกทั้งเรายังเชื่อว่าในปัจจุบันนี้มีคนจำนวนมากกำลังสนใจที่จะทำประกันชีวิตให้กับตนเอง และทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร บทความนี้ Meprakan มีคำตอบมาฝาก
ข้อดีของการทำประกันชีวิตให้ตัวเอง มีอะไรบ้าง
- มีกรมธรรม์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นหนึ่งช่องทางที่ช่วยสร้างเครดิตให้กับตนเองในกรณีที่ต้องการกู้ยืมเงิน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการเดินทางไปยุโรปได้ สำหรับการขอวีซ่าเชงเก้น
- ประกันชีวิตให้ความคุ้มครองสำรองใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุจำเป็น เช่น สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล เบิกค่าสินไหมทดแทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จำเป็นต้องเลือกประกันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตนเองด้วยเช่นกัน
- สามารถทำประกันชีวิตเพ่อเป็นมรดกให้กับลูกหลาน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คนข้างหลังก็จะได้มีเงินเอาไว้ใช้ หากมีประกันอย่างน้อยก็จะมีเงินก้อนเอาไว้ใช้ หรือใช้เป็นทุนการศึกษาสำหรับลูกหลานได้
อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง ต้องรู้อะไรบ้าง
1.ความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกัน
ในทุก ๆ ครั้งที่ทำประกันชีวิต แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือความจำเป็นในทางการเงิน ว่าสามารถชำระเบี้ยประกันตามจำนวนที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์อย่างสม่ำเสมอได้หรือไม่ ซึ่งต้องคำนึงถึงด้วยว่าจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวหรือชีวิตประจำวันหรือไม่
2.ต้องรู้รายละเอียด เงื่อนไขประกันชีวิตที่ทำ
สำหรับข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย เพราะในการทำประกันชีวิตจำเป็นต้องรู้ข้อมูล รายละเอียด และเงื่อนไขของประกันชีวิตแต่ละแผน อีกทั้งข้อนี้ยังเป็นข้อที่หลาย ๆ ไม่ให้ความสนใจและมักถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ ฉะนั้นแล้วคุณจำเป็นต้องทราบรายละเอียดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาเอาประกัน ดอกเบี้ยผลตอบแทน เงื่อนไขคุ้มครอง สิทธิที่ได้รับ ฯลฯ
คลิกอ่านเพิ่มเติม : เลือกทำ ประกันชีวิตแบบไหนดี ถึงคุ้มค่าที่สุด แต่ละแบบเหมาะกับใครบ้าง
3.ต้องรู้ความต้องการของตนเอง
หากอยากจะทำประกันชีวิต สิ่งที่คุณต้องรู้เป็นอย่างแรก คือ ความต้องการของตนเอง ว่าต้องการประกันชีวิตแบบไหน เช่น ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตตลอดชีพ ประกันชีวิตควบการลงทุน ฯลฯ ซึ่งคุณควรจะเลือกซื้อประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเองมากที่สุด เพื่อที่จะรับความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง
คลิกอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกัน Unit Linked
ข้อดี – ข้อเสียประกันชีวิตแต่ละแบบ ที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ
1.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
ข้อดี
เป็นประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองที่ยาวนาน เหมาะสำหรับคนที่อยากจะทำเอาไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนครอบครัวหรือลูกหลาน โดยประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะมีค่าเบี้ยประกันต่ำเมื่อเทียบกับทุนประกันชีวิต
ข้อเสีย
สำหรับข้อเสียของประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะมีผลตอบแทนที่ไม่สูงมาก แต่มักไม่ได้เงินคืน เป็นประกันที่ไม่เหมาะสำหรับคนที่อยากทำประกันเอาไว้เพื่อลงทุนหรือคนที่จะนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสดเมื่อฉุกเฉิน
การเลือกซื้อ
ควรจะมีการคำนวณทุนประกันชีวิต โดยดูจากภาระทางการเงินของตนเองว่ามีหนี้สินหรือไม่ พร้อมกับคำนวณความต้องการพื้นฐาน หรือมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากจะมีสินทรัพย์เอาไว้ใช้ในอนาคตหรือให้ลูกหลานเท่าไหร่
2.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
ข้อดี
สำหรับข้อดีของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ การฝึกวินัยในการออมเงิน เนื่องจากการทำประกันชีวิตจะต้องมีการจ่ายค่าเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเอาเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ
ข้อเสีย
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ มักจะมีราคาเบี้ยประกันที่ค่อนข้างสูงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับประกันชีวิตประเภทอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่ากัน ดังนั้นหากต้องการทำประกันแบบสะสมทรัพย์ก็อย่าลืมที่จะพิจารณาความต้องการของตนเองก่อนด้วยเช่นกัน
การเลือกซื้อ
เพราะประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันที่ต้องใช้ความมีวินัยในการจ่ายค่าเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ จึงควรเลือกซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันไม่เกิน 10% ของเงินเดือน
3.ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance)
ข้อดี
ประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็เหมือนกับแหล่งรายได้หลังจากที่เกษียณอายุ ที่ได้รับเพิ่มเติมจากประกันสังสมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากนี้ประกันชีวิตแบบบำนาญก็ยังได้รับสิทธิในการนำไปลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้
ข้อเสีย
ประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีข้อเสียอยู่ คือ มีเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทที่ค่อนข้างสูง เมื่อต้องการเงินก่อนเวลาที่กำหนดหรือระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ก็จะทำให้ได้รับเงินที่น้อยกว่าที่จ่ายไป
การเลือกซื้อ
สำหรับการเลือกซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ ควรจะมีการคำนวณว่าต้องการเกษียณอายุแล้วต้องการเงินเดือนละเท่าไหร่ อีกทั้งการทำประกันชีวิตแบบบำนาญสิ่งที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การเปรียบเทียบของแต่ละบริษัทว่ามีทุนประกันที่เท่าไหร่
คลิกอ่านเพิ่มเติม : เบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ คืออะไร ลดหย่อนภาษีได้ไหม เหมาะกับใครบ้าง ?
4.ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Link)
ข้อดี
เป็นประเภทประกันที่มีโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันประเภทอื่น ๆ มีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากมีการกำหนดเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย ทุนประกัน เวลาในการจ่าย และระยะเวลาในการคุ้มครองได้เอง โดยใช้หลักการเดียวกับกองทุนรวม
ข้อเสีย
เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยง ไม่เห็นตัวเลขของผลตอบแทนที่แน่นอนเหมือนกันกับประกันแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ยังเป็นประกันที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
การเลือกซื้อ
แนะนำให้เลือกซื้อหลังจากมีประกันที่เป็นเงินออมที่มีความมั่นคงแล้ว เนื่องจากเป็นประกันที่มีความเสี่ยงในการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยอาจแบ่งโควตาสำหรับเงินออม 15-20% ของเงินเดือน
สำหรับใครที่กำลังวางแผนการใช้เงินในอนาคต การทำประกันเอาไว้ถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ไม่น้อย เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองในตอนนี้แล้ว ก็ยังทำให้เรามีเงินออมหรือเงินก้อนเอาไว้ใช้ตอนจำเป็นด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นใครที่อยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง ก็จำเป็นที่ต้องพิจารณารายได้ของตนเองด้วยว่าเหมาะสำหรับประกันที่อยากจะซื้อหรือไม่
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
- https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/salary-man/first-insurance.html
- https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/life/family-insurance/how-much-insurance-premium
Pingback: ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผล คืออะไร มีข้อดีอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีเลือกซื้อ
Pingback: ประกันชีวิตตลอดชีพ คืออะไร มีวิธีเลือกเปรียบเทียบอย่างไรให้คุ้มค่า
Pingback: ประกันชีวิตตลอดชีพ เปรียบเทียบอย่างไรดี ให้ได้ความคุ้มครองที่ใช่ที่สุด
Pingback: 7 แผน ประกันชีวิตตลอดชีพ ที่ไหนดีที่สุด 2023 ความคุ้มครองสูงปรี๊ด