IPD และ OPD คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร สำคัญกับการทำประกันสุขภาพยังไงบ้าง

IPD และ OPD คืออะไร

IPD และ OPD เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่เชื่อว่าผู้ที่ทำประกันสุขภาพต้องเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง ซึ่งเชื่อว่าหลายคนในปัจจุบันนี้อาจจะไม่รู้จัก IPD และ OPD ว่าคืออะไร และทำไมจึงเป็นคำศัพท์ที่ควรจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร บทความนี้ Meprakan จะเป็นผู้พาคุณไปรู้จักกับ IPD และ OPD ให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีความสำคัญกับการทำประกันสุขภาพอย่างไร และมีข้อดีอย่างไรบ้าง

IPD คืออะไร

IPD (In-Patient Department) คือ ผู้ป่วยใน เป็นคำที่เอาไว้ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันเป็นมากกว่า 6 ชั่วโมง และจะต้องได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับคำแนะนำต่าง ๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมาแล้ว IPD เป็นผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ในทันที

การทำประกันสุขภาพแบบ IPD ส่วนใหญ่จะคุ้มครองครอบคลุมค่าปรึกษาแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าบริการ ค่าห้องพัก ค่าบริการห้องที่ใช้ผ่าตัด ค่าเอกซเรย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ IPD ก็ยังกรณีการรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแต่เสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน

OPD คืออะไร

OPD (Out-Patient-Department) คือ ผู้ป่วยนอก เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีการเข้ามารับการรักษาในสถานพยาบาล แต่เป็นผู้ป่วยที่สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้เลย ไม่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่มีอาการป่วยจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ แต่มีอาการไม่รุนแรง เช่น เป็นหวัด ปวดหัว อาการแพ้ต่าง ๆ โดยจะให้ความคุ้มครองในการรักษาไม่ว่าจะเป็น ค่าบริการปรึกษาแพทย์ ค่ายา ค่าทำแผล หรือค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆด้วยเช่นกัน

IPD & OPD มีความสำคัญกับการทำประกันสุขภาพอย่างไร

IPD & OPD มีความสำคัญกับการทำประกันสุขภาพอย่างไร

ก่อนที่จะเลือกทำประกันสุขภาพ สิ่งสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้เด็ดขาด ก็คือการศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดความคุ้มครองที่เราจะได้รับ เนื่องจากการทำประกันสุขภาพบางที่จะให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน อาจให้ความคุ้มครองแบบ IPD (ผู้ป่วยใน) หากเจ็บป่วยแล้วเข้ารักษาแบบ OPD (ผู้ป่วยนอก) ประกันสุขภาพจะไม่ให้ความคุ้มครอง ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเอง และในทางกลับกัน หากประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองแบบ OPD แต่เมื่อเจ็บป่วยแบบ IPD ประกันก็จะไม่ให้ความคุ้มครองและต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเองด้วย

ทำประกันสุขภาพแบบมี IPD และ OPD มีข้อดีอย่างไร

1.สะดวก

สำหรับข้อดีของการทำประกันสุขภาพแบบ IPD และ OPD นั้น จะทำให้เราสามารถเข้าไปใช้สิทธิ์ในการรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อไหร่ก็ได้ ตามสะดวก หากมีอาการเจ็บป่วยแบบรุนแรง คาดเดาไม่ได้ การทำประกันสุขภาพแบบ OPD นั้นก็จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วแถมไม่ยุ่งยากด้วยเช่นกัน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ทำประกันสุขภาพกี่วันเคลมได้ สามารถแจ้งเคลมประกันเลยทันทีได้หรือไม่

2.วงเงินครอบคลุม

เนื่องจากอาการเจ็บป่วยเป็นอาการที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นตอนไหน หลายคนอาจจะคิดว่าการใช้สวัสดิการสุขภาพของบริษัทหรือประกันสังคมก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่หากการเจ็บป่วยหนัก ๆ  ก็อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง การทำประกันสุขภาพเอาไว้จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้เรามีเงินสำรองเอาไว้ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยแบบไม่ต้องกังวลนั่นเอง

3.ช่วยลดหย่อนภาษี  

เชื่อว่าหลายคนในปัจจุบันนี้ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำประกันสุขภาพเอาไว้นั้น นอกจากเป็นสิ่งที่ช่วยบริหารความเสี่ยงทางการเงินของผู้ทำประกันแล้ว ก็ยังสามารถนำไปช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย เรียกได้ว่าสามารถช่วยแบ่งเบาภาระในการจ่ายค่าภาษีได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ความแตกต่างของ IPD และ OPD

สรุปความแตกต่างของ IPD และ OPD เป็นแบบไหน

ความแตกต่างของ IPD และ OPD มีความแตกต่างกันพอสมควร เพราะประกันสุขภาพแบบ IPD คุณจะต้องรักษาอยู่ในโรงพยาบาลที่ยาวนานกว่า 6 ชั่วโมง เป็นผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยแบบรุนแรงหรือฉุกเฉิน และรวมค่าห้องพัก ค่าห้องผ่าตัด ค่าห้อง ICU ค่ารักษาพยาบาล ภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์

ส่วนประกันสุขภาพแบบ OPD เป็นประกันที่จะให้ความคุ้มครองผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาลไม่ถึง 6 ชั่วโมง และรวมค่าแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล และค่ายารักษาโรคเอาไว้แล้ว

แผนประกันสุขภาพที่มี IPD และ OPD จากกรุงไทยแอกซ่า

กรุงไทยแอกซ่ามีประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองแบบ IPD และ OPD ที่เรียกว่า “แบบสุขภาพ”

ซึ่งคือสัญญาเพิ่มเติมที่ทางบริษัทประกันแนะนำให้ซื้อไว้เพิ่มเติมกับสัญญาหลักที่มีอายุสัญญาเกิน 10 ปึขึ้นไป (เป็นกฎเกณฑ์มาตราฐานที่ทุกบริษัทประกันใช้เหมือนกันหมด)

ซึ่งทาง Meprakan ก็จะขอแนะนำเป็นแผนประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายต่อปี ที่มีชื่อว่า “iHealthy Ultra” โดยจะมีให้เลือกทั้งหมด 6 แผนตามภาพด้านล่าง

iHealthy Ultra ประกันสุขภาพเหมาจ่าย

ความดีของความชอบของ iHealthy Ultra จะโดดเด่นตรงแผนที่มี OPD แบบที่เหมาจ่ายในตัว โดยมี 4 แผนด้วยกัน ดังนี้

  • แผน Silver 6,000 /ปี
  • แผน Gold 9,000/ปี
  • แผน Diamond 60,000/ปี
  • แผน Platinum 100 ล้าน/ปี

อธิบายแบบง่าย ๆ คือ จะใช้ OPD ครั้งละเท่าไหร่ก็ได้หรือจะใช้หมดครั้งเดียวก็ได้เช่นกัน

โดยทั่วไปในหลาย ๆ บริษัทประกัน จะกำหนดวงเงินการใช้ OPD เอาไว้ เช่น มีวงเงิน OPD อยู่ 10,000 บาท แต่เวลารักษาจริง ๆ จะจำกัดแค่ครั้งละ 1,000 – 2,000 บาทเท่านั้น หากค่ารักษา OPD เกินก็ปัดภาระไปให้ลูกค้าจ่ายเอง ทำให้ลูกค้าต้องเสียเงินเพิ่มทั้ง ๆ ที่ได้จ่ายค่าเบี้ยสำหรับ OPD ไปแล้วนั่นเอง นี่แหละ.. คือความดีความชอบของประกันสุขภาพ iHealthy Ultra

เพราะการประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อน เมื่อมีความเข้าใจมากขึ้นจะได้สามารถใช้สิทธิในการรักษาได้อย่างเต็มที่เป็นการรักษาสิทธิที่ควรจะได้รับ แต่ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับเลยว่าบริษัทประกันสุขภาพนั้นมีให้บริการจำน้อยไม่น้อย ทำให้การพิจารณาเลือกทำประกันสุขภาพกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง จำเป็นต้องพิจารณามากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการและคุ้มครองเรามากที่สุด

6 thoughts on “IPD และ OPD คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร สำคัญกับการทำประกันสุขภาพยังไงบ้าง

  1. Pingback: ประกันสุขภาพกรุงไทยแอกซ่าดีไหม ? โดดเด่นกว่าเจ้าอื่น มีข้อดีอย่างไร

  2. Pingback: ทำประกันสุขภาพกี่วันเคลมได้ เคลมทันทีได้ไหม ต้องมีเวลารอคอยเท่าไหร่

  3. Pingback: ประกัน IPD คืออะไร มีความสำคัญต่อการทำประกันสุขภาพอย่างไรบ้าง ?

  4. Pingback: 7 เหตุผล ทำไมต้องทำประกันสุขภาพ บอกเลยว่าแต่ละข้อสำคัญมาก ๆ

  5. Pingback: ประกันสุขภาพ คืออะไร มีทั้งหมดกี่แบบ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้างกันแน่ ?

  6. Pingback: 7 ข้อดีประกันสุขภาพ มีอะไรบ้าง | สำคัญอย่างไร ทำไมใคร ๆ ก็ควรทำไว้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *