ประกันชีวิตควบการลงทุน KTAXA UNIT LINKED
ประกันชีวิตควบการลงทุน KTAXA UNIT LINKED

ประกันชีวิตควบการลงทุน KTAXA UNIT LINKED

กรุงไทย-แอกซ่า ยูนิต ลิงค์ ประกันชีวิตควบการลงทุน

ทำความรู้จัก Unit-Linked คืออะไร

ผลิตภัณฑ์ Unit-Linked คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตพร้อมกับให้โอกาสในการรัผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนในเบี้ยประกันภัยที่จ่าย โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1.เบี้ยประกันภัยส่วนแรกจะถูกหักออกไปเพื่อชำระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตก่อน

2.เบี้ยประกันภัยส่วนที่เหลือจำถูกนำไปลงทุนที่กองทุนรวมตามสัดส่วนที่ลูกค้าได้เลือกเอาไว้
เมื่อเทียบกับการลงทุนในกองทุนรวมแล้ว Unit-Linked จะมีผลตอบแทนที่น้อยกว่า แต่จะได้รับความคุ้มครองชีวิตเมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น

จุดเด่นประกันชีวิตควบลงทุน Unit-Linked มีอะไรบ้าง

เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ Unit-Linked VS ประกันชีวิต VS กองทุนรวม

ตารางแสดงการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ Unit-Linked VS ประกันชีวิต VS กองทุนรวม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ประกันชีวิต
$99.99
มีความคุ้มครองตามแบบประกันที่ได้เลือกเอาไว้
การลงทุนขึ้นอยู่กับเงื่อนไข นโยบายของบริษัทประกัน เลือกทุนตามความต้องการไม่ได้
ให้ผลตอบแทนคงที่ แน่นอน ตามแบบประกันที่เลือกเอาไว้
ไม่เปิดเผยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
Unit-Linked
$99.99
ให้ความคุ้มครองชีวิต สามารถปรับเปลี่ยนความคุ้มครองชีวิตได้
ลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ผู้ซื้อสามารถเลือกกองทุนที่ผ่านการคัดสรรโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับกองทุนที่เลือกไว้โดยผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นได้แบบชัดเจน
กองทุนรวม
$99.99
กองทุนรวมไม่มีความคุ้มครองเกี่ยวกับชีวิตให้
เลือกลงทุนในกองทุนรวมตามระดับความเสี่ยง ที่ตัดสินใจโดยผู้ซื้อเองโดยตรง
ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับกองทุนที่เลือกไว้
เปิดเผยค่าใช้จ่ายแบบชัดเจน

FAQ ที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Unit-Linked

ตอบ : เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่รวมประกันชีวิตและกองทุนรวมเข้าไว้ด้วยกัน ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองชีวิตและได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน

ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าต้องการเน้นไปด้านไหนเป็นพิเศษ ระหว่างการลงทุนในกองทุนรวมหรือความคุ้มครองด้านชีวิต โดยยึดความต้องการตามช่วงวัยเป็นหลัก
ผลตอบแทนของกองทุนรวมจะไม่มีการรับประกันมูลค่ากรมธรรม์ เพราะมูลค่ากรมธรรม์จะขึ้นอยู่กับมูลค่าหน่วยลงทุน จะสูง-ต่ำก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกองทุนรวม

ตอบ : เพราะผลิตภัณฑ์ Unit-Linked ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูงโดยเน้นไปที่ความต้องการของผู้เอาประกันเป็นหลัก ซึ่งผู้เอาประกันสามารถปรับเปลี่ยนสิทธิผลประโยชน์ได้ดังนี้

  • ปรับเพิ่ม-ลดความคุ้มครองได้ระหว่างสัญญา (ขึ้นอยู่กับแบบประกัน)
  • สามารถถอนเงินบางส่วนได้ในกรณีที่มีเหตุให้ต้องใช้เงินจากกรมธรรม์ โดยที่ความคุ้มครองยังคงมีผลต่อเนื่อง*
  • สามารถหยุดพักชำระเบี้ยในบางปีได้ตามความเหมาะสมกับความต้องการของจังหวะชีวิต และสามารถกลับมาส่งเบี้ยประกันได้เมื่อพร้อม โดยที่ยังได้รับความคุ้มครองแบบต่อเนื่อง**

*บริษัทฯ จะดำเนินการหักค่าการประกันภัย และค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์จากมูลค่าบัญชีกรมธรรม์ ณ วันครบรอบเดือน และกรมธรรม์จะมีผลบังคับต่อไปตราบเท่าที่มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ยังมีเพียงพอ

ตอบ : ผลิตภัณฑ์ Unit-Linked จะมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ เพราะสามารถออกแบบกรมธรรม์ได้ด้วยตัวเอง แต่หากเป็นประกันชีวิตทั่วไปจะมีข้อกำหนดไว้ตามแบบประกันนั้น ๆ และบริษัทประกันจะเป็นผู้รับความเสี่ยงเอาไว้เอง ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของเบี้ยเพื่อความคุ้มครองหรือผลตอบแทนตามที่ต้องการได้

ตอบ : Unit-Linked มีแบบประกัน 2 แบบ ดังนี้

  • แบบ RP (Regular Premium) คือ การชำระเบี้ยรายงวด ซึ่งความคุ้มครองจะคิดเป็นจำนวนเงินเท่าจากเบี้ยประกันภัยที่ชำระเข้ามา ซึ่งจะมีความคุ้มครองสูง เหมาะกับคนที่ต้องการทะยอยจ่ายเบี้ยประกันเป็นรายงวด แบบ RP สามารถวางแผนเพิ่ม-ลดความคุ้มครองได้ โดยเงินส่วนที่เหลือยังสามารถออมเงินไปได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถหยุดพักชำระหนี้ได้เมื่อเกิดความจำเป็น
  • แบบ SP (Single Premium) คือ การชำระเบี้ยประกันครั้งเดียวเป็นเงินก้อน ซึ่งความคุ้มครองจะคิดเป็นจำนวน % ส่วนเพิ่มจากเบี้ยประกันที่ชำระมา เหมาะกับคนที่ไม่เน้นเรื่องความคุ้มครองสักเท่าไหร่ แต่ยังมีผลประโยชน์มากกว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระเข้ามา และยังเหมาะกับการวางแผนมรดกหรือการสร้างผลตอบแทนจากเบี้ยที่ชำระ

ตอบ : หากหยุดพักชำระเบี้ย ความคุ้มครองจะยังคงมีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ยังคงมีพอชำระค่าใช้จ่ายกรมธรรม์ ณ วันที่ครบรอบเดือน

ตอบ : หากเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตทั่วไป บริษัทประกันจะนำเงินหลังจากหักค่าดำเนินการต่าง ๆ แล้วไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ผลิตภัณฑ์ Unit-Linked สามารถเลือกพอร์ตการลงทุนในแบบที่เหมาะสมกับตัวคุณเองได้

ตอบ : ค่าใช้จ่ายในส่วนประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งเบี้ยประกันที่นำไปลดหย่อนภาษีได้จะถูกแสดงเอาไว้อย่างชัดเจนในใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองการจ่ายเบี้ยประกัน

ตอบ : สามารถทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีถอนเงินออกจากกรมธรรม์ : สามารถถอนเงินได้ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด และอาจจะมีค่าธรรมเนียมเมื่อถอนเงิน (ถ้ามี) ตามช่วงปีที่ทำการถอนเงินออกจากกรมธรรม์

การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การยกเลิกความคุ้มครองและการลงทุนทั้งหมด โดยลูกค้าจะได้รับมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนหักด้วยค่าธรรมเยี่ยมในการถอนเงิน (ถ้ามี) ณ วันที่ทำรายการสมบูรณ์เรียบร้อย