ปัจจุบันมีรูปแบบการทำประกันชีวิตให้เลือกหลายแบบมาก ๆ ซึ่งประกันชีวิตแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้ Meprakan จะมาสรุปให้ได้อ่านกันว่าประกันชีวิตมีกี่แบบ กี่ชนิด ประกันชีวิตแต่ละแบบให้ความคุ้มครองลักษณะแบบไหนบ้าง หากใครที่ลังเลว่าจะทำประกันชีวิตรูปแบบไหนดีถึงจะได้ความคุ้มครองคุ้มค่าที่สุด อ่านบทความนี้จบรับรองได้คำตอบอย่างแน่นอน
ประกันชีวิตมีกี่แบบ
รูปแบบชนิดประกันชีวิตจะแบ่งออกเป็น 5 แบบ ดังนี้
1.ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองแบบมีระยะเวลาจำกัด เช่น จะให้ความคุ้มครองแบบ 1 ปี 5 ปี 10 ปี 20 ปี ฯลฯ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาจะเป็นประกันชีวิตระยะสั้น ให้ความคุ้มครองจากการเสียชีวิตเท่านั้น
ซึ่งบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินให้กับผู้รับผลประโยชน์ ที่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันได้เสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถ้าผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่โดยพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว แบบนี้.. จะไม่ได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัย เพราะถือว่าความคุ้มครองสิ้นสุดลงแล้ว
ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เหมาะกับใคร
- บุคคลที่เป็นเสาหลักของครอบครัว
- บุคคลที่มีหนี้สินสูง และต้องการทำประกันชีวิตด้วยทุนประกันที่สูง
- บุคคลที่ต้องการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยในราคาต่ำ
ข้อดีประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตมีราคาถูก
- ทุนเอาประกันภัยสูง
ข้อจำกัดประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
- หากผู้เอาประกันอยู่ครบสัญญากรมธรรม์ จะไม่ได้รับผลตอบแทน
2.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ คือ ประกันชีวิตที่ให้เราจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามช่วงเวลาที่ได้กำหนดเอาไว้ แต่จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดชีวิต โดยจะให้ความคุ้มครองจนถึงอายุ 90-99 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย
หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา ก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามจำนวนทุนประกันภัย แต่หากเสียชีวิตในช่วงที่มีความความคุ้มครอง ผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินตามจำนวนทุนประกันภัยไปแทน
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะมีค่าเบี้ยประกันภัยสูงกว่าประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา มีมูลค่าเงินสดอยู่ในกรมธรรม์ หากส่งเบี้ยประกันมาสักระยะหนึ่งจะสามารถกู้เงินจากกรมธรรม์หรือเวนคืนกรมธรรม์ภัยได้
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เหมาะกับใคร
- บุคคลที่เป็นหัวหน้าครอบครัว
- บุคคลที่ต้องการความคุ้มครองประกันชีวิตระยะยาว
ข้อดีประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- จ่ายเบี้ยประกันภัยระยะสั้น ได้ความคุ้มครองตลอดชีวิต
- สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ เช่น ประกันโรคร้ายแรง หรือ ประกันสุขภาพ
ข้อจำกัดประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
- ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยตามจำนวนระยะเวลาที่ระบุเอาไว้
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ประกันโรคร้ายแรง คืออะไร ควรทำหรือไม่ ให้ความคุ้มครองโรคอะไรบ้าง
3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ ประกันชีวิตที่ผสมผสานกับการออมทรัพย์ โดยผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองชีวิตและมีเงินออมทรัพย์ไปในตัว ซึ่งบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินให้กับผู้เอาประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตครบตามที่กำหนดสัญญา หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิตลง ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินส่วนนี้แทน
โดยการจ่ายผลตอบแทนจะรวมทั้งเงินทุนประกัน เงินคืนรายงวด รวมถึงเงินปันผล ซึ่งจะมีการจ่ายในรูปแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยที่ได้ระบุเอาไว้ในสัญญากรมธรรม์ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เหมาะมาก ๆ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการออมเงินเพื่อในอนาคต
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เหมาะกับใครบ้าง
- บุคคลที่ต้องการเงินออมสะสมในอนาคต
ข้อดีประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
- ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน
- สามารถออมเงินผ่านประกันสะสมทรัพย์ เพื่อใช้ในการเกษียณได้
- ในขณะที่ออมเงินจะได้รับความคุ้มครองชีวิตด้วย
ข้อจำกัดประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
- ต้องส่งค่าเบี้ยประกันให้ครบตามที่กำหนดเอาไว้ในสัญญากรมธรรม์
4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuities Insurance)
ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ ประกันชีวิตที่จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัยหลังจากเกษียณอายุแล้ว โดยประกันชีวิตแบบบำนาญจะมีรูปแบบการจ่ายผลประโยชน์ที่เท่ากันเป็นประกันทุกเดือนหรือทุกปีให้กับผู้เอาประกันที่เกษียณอายุแล้ว (อายุประมาณ 55-60)
ประกันชีวิตแบบบำนาญ เหมาะกับใคร
- ผู้ที่ต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณอายุ
ข้อดีประกันชีวิตแบบบำนาญ
- ได้รับเงินบำนาญเท่ากันทุกเดือน ทุกปี
- มีเงินใช้หลังเกษียณอายุ
ข้อจำกัดประกันชีวิตแบบบำนาญ
- จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิบแบบบำนาญตามรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์
- ได้ความคุ้มครองชีวิตน้อย เพราะเน้นเรื่องการจ่ายเงินบำนาญเป็นหลัก
5.ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Linked Insurance)
ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน หรือ Unit Linked คือ ประกันชีวิตที่มาพร้อมกับการลงทุนในกองทุนรวม ผู้เอาประกันสามารถบริหารความเสี่ยง จัดการเลือกแผนความคุ้มครองให้เหมาะกับ Life Style ตัวเองได้ หากผู้เอาประกันมีความรู้เรื่องการลงทุนในกองทุนรวม ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
แม้ว่าประกันชีวิตแบบควบการลงทุนจะมีการลงทุนในกองทุนรวมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่บริษัทประกันภัยทุกเจ้าก็ไม่สามารถการันตรีผลตอบแทนจากการลงทุนได้ ซึ่งนี่ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยต้องยอมรับและทำความเข้าใจ
ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการลงทุน
- บุคคลที่ยอมรับความเสี่ยงได้
- บุคคลที่ต้องการสะสมความมั่งคั่ง
ข้อดีประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
- เลือกแผนประกันให้เหมาะกับความต้องการได้
- มีผู้บริหารมืออาชีพมาช่วยดูแลจัดการเรื่องกองทุนรวม
ข้อจำกัดประกันชีวิตแบบควบการลงทุน
- ไม่สามารถการันตรีผลตอบแทนจากการลงทุนได้
จะเห็นได้ว่าประกันชีวิตแต่ละชนิด แต่ละประเภท จะมีรูปแบบความคุ้มครองที่เด่นและแตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่สนใจทำประกันชีวิต เราแนะนำว่าให้ลองสำรวจความต้องการของคุณดูว่าอยากทำประกันชีวิตให้ตัวเอง หรือ อยากทำประกันชีวิตให้พ่อแม่เพื่ออะไรกัน เช่น คุ้มครองชีวิต ให้พ่อแม่หรือตัวเราเองมีเงินบำนาญใช้ ฯลฯ เพราะจะได้เลือกประเภทประกันชีวิตให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณได้มากที่สุด
Pingback: ประกันชีวิตตลอดชีพ คืออะไร มีวิธีเลือกเปรียบเทียบอย่างไรให้คุ้มค่า