กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คือ ข้อตกลง เงื่อนไข หรือสัญญา ระหว่างผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์กับผู้รับทำประกันภัยรถยนต์ โดยต้องทำประกันภัยรถยนต์แบบหนังสือ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันทำสัญญา โดยภายในหนังสือจะต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วน เช่น ความคุ้มครองที่ครอบคลุมของประกัน , การเพิ่มหรือลดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ , การจ่ายค่าสินไหมทดแทน , เงื่อนไขการเวนคืนประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์จะต้องรู้รายละเอียดเงื่อนไขเป็นอย่างดี รวมถึงผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์จำเป็นต้องเก็บรักษากรมธรรม์เป็นอย่างดี เมื่อเกิดเรื่องหรืออุบัติเหตุที่ต้องยื่นเคลมก็จะได้มีหลักฐานยืนยันทำเรื่องเคลมประกันได้
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็นทั้งหมดกี่แบบ
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ซึ่งกรมธรรม์นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ทำประกันรถยนต์ทุกคนควรจะทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงต้องทราบผลประโยชน์ภายในเป็นอย่างดี เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจะได้สามารถเข้าใจและสามารถทำการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ
อีกทั้งในข้างต้นเราก็บอกไปแล้วว่ากรมธรรม์มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 แบบ คือ ภาคสมัครใจและภาคบังคับ เพื่อน ๆหลายคนก็อาจจะไม่รู้จักกับกรมธรรม์ 2 แบบนี้ โดยกรมธรรม์ภาคสมัครใจและกรมธรรม์ภาคบังคับมีความแตกต่างกัน ดังนี้
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ การตกลงระหว่างผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัย โดยเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ตามที่ตนเองพึ่งพอใจ หรือเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้นที่พึงพอใจหรือตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดนั่นเอง ผู้ซื้อประกันเลือกซื้อด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับด้วยกฎหมายให้เลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ชั้น 2 ประกันรถยนต์ชั้น 3 ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ประกันรถยนต์ชั้น 3+
คลิกอ่านความคุ้มครองของประกันภาคสมัครใจแต่ละประเภทได้ที่นี่
- ประกันชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง
- ประกันชั้น 2 คุ้มครองอะไรบ้าง
- ประกันชั้น 2 พลัส คุ้มครองอะไรบ้าง
- ประกันชั้น 3 คุ้มครองอะไรบ้าง
- ประกันชั้น 3 พลัส คุ้มครองอะไรบ้าง

Cr. car.kapook.com
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ พ.ร.บ. หรือ การประภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พ.ศ.2535 ซึ่ง พ.ร.บ. นี้จะกำหนดให้รถจักรยานยนต์ทุกคันและรถที่ใช้การขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น ๆ ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบก รวมถึงต้องทำประกันภัยรถยนต์ตามกฎหมายกำหนด
โดยข้อกำหนดหรือกฎหมายที่รถทุกคันต้องมี พ.ร.บ. ก็เพราะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความคุ้มครองหรือความช่วยเหลือผู้ใช้รถที่เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะได้สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเป็นค่าปลงศพในกรณีที่เกิดการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วยเช่นกัน

Cr. easyinsure.co.th
สรุปความแตกต่างของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจและภาคบังคับ
สำหรับความแตกต่างของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจและภารบังคับนั้น เรียกได้ว่ามีความแตกต่างกันพอสมควรเลย เพราะการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนั้น ผู้ซื้อประกันจะต้องเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ด้วยตนเอง ซึ่งอาจเลือกบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือและตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด เช่น ประกันวิริยะ ประกันกรุงเทพ ประกันเทเวศ ฯลฯ
โดยอาจเลือกซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 2+ ชั้น 3 หรือชั้น 3+ ได้ตามความสมัครใจ ซึ่งประกันแต่ละประเภทก็จะได้รับความคุ้มครองที่แตกต่างกัน คุณจึงต้องเลือกซื้อประกันที่คิดว่าตอบโจทย์และเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะคุณจะต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์เอง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็สามารถเลือกได้ด้วยว่าต้องการนำรถยนต์ซ่อมห้างหรือซ่อมอู่ หากประกันภัยรถยนต์ซ่อมอู่ไว้แต่อยากจะซ่อม คุณก็จะต้องเสียค่าซ่อมเองเพิ่มเติม เนื่องจากในกรมธรรม์ไม่ได้ระบุเอาไว้
คลิกอ่านเพิ่มเติม : ซ่อมอู่ กับ ซ่อมห้าง คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง สรุปครบจบในที่เดียว

ในส่วนของกรมธรรม์ภาคบังคับ ถือเป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้ได้รับบาดเจ็บในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลด้วยว่าจะได้รับค่ารักษาอย่างแน่นอน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลมอบให้กับประชาชนที่มีการใช้รถ ใช้ถนนกันอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
การทำประกันภัยรถยนต์ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถมองข้ามไปได้ การเลือกทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะประกันภัยรถยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือจะสามารถช่วยทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่ดีเยี่ยม
และนอกจากการพิจารณาเลือกทำประกันกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือเรื่องความรู้ของการทำประกันภัยรถยนต์ ควรจะทำการศึกษาข้อมูลของแต่ละบริษัทประกันเพื่อเปรียบเทียบและเลือกทำประกันกับบริษัทที่คุ้มค่าและตอบโจทย์การใช้งานกับตนเองมากที่สุด ต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของกรมธรรม์ เพราะสิ่งที่กรมธรรม์ระบุเอาไว้ในหนังสือ นั้นคือสิทธิประโยชน์และข้อตกลงที่คุณจะได้ ทำให้ต้องมีการอ่านเพื่อทำความเข้าใจถึงรายละเอียดเสียก่อน หากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังจะได้สามารถทำการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับได้
Pingback: วิธีแจ้งเคลมสีรอบคัน มีขั้นตอนอย่างไร แจ้งเคลมประกันภัยได้หรือไม่ ?